จากกองทุนหมู่บ้าน เมื่อปี ๒๕๔๔ พัฒนาเป็นสถาบันการเงินครบวงจร ได้ด้วยชุมชนเอง โดยค่อยๆ พัฒนาจาก การหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางการเงินให้กับคนในชุมชน
ปี ๒๕๔๙ เริ่มนำระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อความถูกต้องและสร้างความเชื่อมั่นให้กับ สมาชิก โดยพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้นใช้เอง ผู้ใช้ที่อายุมากไม่เคยเรียนก็สามารถใช้ได้ จนเป็นที่ยอมรับ
กองทุนได้รับการพัฒนาปรับปรุงในทุกด้านโดยการพึ่งพาตนเอง ด้วยเงินจัดสรรกำไรในแต่ละปี และมี แผนพัฒนาที่ชัดเจน ในการพัฒนาสู่สถาบันการเงินชุมชนที่มั่นคง เพื่อให้คนในชุมชนมีอาชีพ และคุณภาพ ชีวิตที่ดี ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิสัยทัศน์กองทุนหมู่บ้าน
การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
บนพื้นฐานความเอื้ออาทรและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย
สู่เป้าหมายสถาบันการเงินชุมชนที่มั่นคงและเข้มแข็ง
บริการของสถาบันการเงินชุมชน
- รับสมัครสมาชิก – ระดมทุน เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน
- บริการสินเชื่อตามสภาพปัญหาจริง กว่า ๑๐ แบบ
- บริการรับฝาก-ถอนเงินบุคคลทั่วไปและกลุ่มองค์กรในชุมชน
- บริการรับ-ฝากโอนเงินออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
- บริการรับชำระค่าสินค้า ค่าสาธารณูปโภคออนไลน์
- บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางการเงิน
- ให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาทางการเงินของกลุ่มองค์กรชุมชน
ปัจจัยความสำเร็จ/สิ่งที่ได้เรียนรู้
- สื่อสารให้มากระหว่างสมาชิกกับคณะกรรมการ
- ยึดถือระเบียบเป็นสำคัญ ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเสมอภาค
- ปรับปรุงการบริการให้สอดคล้องกับปัญหาและวิถีชีวิต
- อย่างมุ่งสร้างผลกำไรมากกว่าการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
- เน้นการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์
- กองทุนเป็นของสมาชิกทุกคน คณะกรรมการเป็นเพียงตัวแทน ที่ถูกเลือกมาดูแลชั่วคราว
- บังคับใช้ระเบียบ ควบคู่ไปกับคุณธรรม และความเอื้ออาทร
การยอมรับ
- ผ่านการประเมินมาตรฐานกองทุน ระดับ AAA ปี ๒๕๔๖
- จดทะเบียนเป็นองค์กรนิติบุคคล ปี ๒๕๕๐
- ได้รับเชิดชูเกียรติ กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น โล่ห์รางวัลสิงห์ทอง กรมการพัฒนาชุมชน ปี ๒๕๕๓
- ได้รับเชิญถ่ายทอดประสบการณ์นอกพื้นที่ และมีผู้มา ศึกษาเรียนรู้เป็นประจำ
ผู้ถ่ายทอดความรู้
- นายประหยัด พุดจีบ ประธานกองทุน
- นางสมทรัพย์ สลับศรี ฝ่ายสินเชื่อกองทุน
- นางสายขวัญ นิลจันทร์ เหรัญญิกกองทุน
สถาบันการเงินชุมชนบ้านไผ่ หมู่ที่ 13 (17 กรกฎาคม 2553)