หมู่บ้านมีสวัสดิการหลากหลายรูปแบบ อาทิ แหล่งอาหารฟรีจากป่าชุมชน สวัสดิการจากหน่วยงานภาครัฐ กองทุนพัฒนา หมู่บ้าน กองทุนฌาปนกิจ สวัสดิการกองทุนหมู่บ้าน และกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ (ระดับตำบล) ที่ดูแลสวัสดิการตั้งแต่ เกิดจนตาย ซึ่งร่วมก่อตั้งทั้งตำบล ๑๔ หมู่บ้าน เมื่อ เมษายน ๒๕๕๑ ด้วยสมาชิกเริ่มต้น ๑,๓๖๗ คน มากที่สุดในจังหวัดสุรินทร์
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ หรือกองบุญคุณธรรม หรือกองทุนสัจจะวันละบาทเพื่อสวัสดิการตลอดชีวิต โดยส่งสัจจะ ทุกเดือน เพียงวันละ ๑ บาท เมื่อครบ ๖ เดือน กองทุนจะดูแลสมาชิก ตั้งแต่เรื่อง การเกิด การเจ็บป่วย ผู้สูงอายุ การเสียชีวิต ทุนการศึกษา ภัยพิบัติ และเรื่องอื่นๆ ที่จะมีในอนาคต ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๙) มีสมาชิกมากกว่า ๔,๘๐๐ คน ดูแลสวัสดิการให้ สมาชิกไปแล้วกว่า ๖ ล้านบาท มีเงินกองทุนคงเหลือสุทธิกว่า ๗ ล้านบาท คณะกรรมการบริหารมาจาก ๑๔ หมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๓ คน โดยการเลือกของสมาชิก และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 1 คน รวม ๔๓ คน มีที่ปรึกษา ๑๖ คน
สวัสดิการตลอดชีวิต
- คลอดบุตร – เงินรับขวัญ ๕๐๐ บาท บุตรเป็นสมาชิกทันที
- เจ็บป่วย – เงินรักษาตัวในโรงพยาบาล คืนละ ๑๐๐ บาท ไม่เกิน ๑๐ คืน/ปี
- ผู้สูงอายุ – เงินสนับสนุนชมรมละ ๕๐๐ บาท/ปี
- เสียชีวิต – เงินฌาปนกิจ ๒,๕๐๐ – ๕๐,๐๐๐ บาท/ราย ขึ้นอยู่กับอายุการเป็นสมาชิก
- ทุนการศึกษา – ทุกรอบ ๕ ปี อายุไม่เกิน ๑๘ ปี รายละ ๕๐๐ บาท/รอบ และทุนพิจารณาอื่นๆ
- ภัยพิบัติ – อัคคีภัย ๑,๐๐๐ บาท/ครัวเรือน/ปี – วาตภัย ๕๐๐ บาท/ครัวเรือน/ปี
- สนับสนุนกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ๕,๐๐๐ บาท/ปี
- สนับสนุนกีฬาประเพณี ๑๔ หมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๕๐๐ บาท/ปี
- เงินกู้ยืมส่งเคราะห์งานบุญระยะสั้น ไม่มีดอกเบี้ย
- งดเว้นสัจจะสมาชิกผู้ด้อยโอกาส
การยอมรับ
- ได้รับรองเป็น “องค์กรสวัสดิการชุมชน” จากคณะกรรมการส่งเสริมการจัด สวัสดิการสังคมแห่งชาติ ปี ๒๕๕๒
- ได้รับรองเป็น “องค์กรชุมชน” จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ปี ๒๕๕๓
- มีระบบบริหารจัดการที่เป็นแบบอย่าง เผยแพร่ทาง www.phaicare.com และเฟสบุค www.facebook.com/phaicare
- ได้รับเชิญถ่ายทอดประสบการณ์นอกพื้นที่ และมีผู้มาศึกษาเรียนรู้เป็นประจำ
ผู้ถ่ายทอดความรู้
- นายประหยัด พุดจีบ ประธานกองทุนและผู้ริเริ่ม
- นางทองเลียบ ใยวัน กรรมการศูนย์ประสานงาน หมู่ที่ ๑๓
- นางสมทรัพย์ สลับศรี กรรมการศูนย์ประสานงาน หมู่ที่ ๑๓